บอกลา…น้ำเหลืองเสีย เสริมภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟูระบบไหลเวียนด้วย “เห็ดกระถินพิมาน”

เห็ดกระถินพิมาน คงเป็นชื่อที่หลายคนคุ้นหูกันเป็นอย่างดี ในสรรพคุณที่ทรงคุณค่าในการต้านการเกิดเนื้อร้าย อย่างโรคมะเร็ง โดยดอกเห็ดมักมีลักษณะคล้ายเกือกม้า ชาวบ้านจึงมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เห็ดเกือกม้า” เห็ดกระถินพิมานมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phellinus linteus จะเจริญเติบโตโดยการเกาะติดอยู่บนต้นไม้ที่มีชีวิต หรือที่ตายแล้ว โดยเฉพาะบนต้นกระถินพิมาน ดอกเห็ดมีเนื้อแข็งเหมือนไม้ มีอายุได้หลายปี เมื่อสดจะมีสีน้ำตาลเข้ม ผิวรูพรุนเป็นสีน้ำตาลสนิม เมื่อแห้งจะกลายเป็นสีดำ ผิวรูพรุนจะกลายเป็นสีน้ำตาล เป็นเห็ดที่รู้จักกันดี มักจะพบได้ในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงไทย ได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นสมุนไพรโบราณมายาวนานกว่า 2,000 ปี เห็ดกระถินพิมานถูกนำมาใช้เป็นเครื่องยาสมุนไพรของไทยในตำรายาพื้นบ้านภาคต่างๆ มาอย่างช้านาน ทั้งการใช้เป็นยาเดี่ยว และใช้ประกอบเป็นเครื่องยากับสมุนไพรชนิดอื่นๆ รวมกันเป็นสูตรตำรับ ในคัมภีร์แพทย์แผนไทยระบุรสยา และสรรพคุณของเห็ดกระถินพิมานไว้ว่า มีรสเมาเบื่อ และมีสรรพคุณในการแก้น้ำเหลืองเสีย แก้ปวด แก้พิษฝีในหู ไข้พิษ ไข้กาฬ แก้เริม งูสวัด (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2552) รายงานการวิจัยของเห็ดกระถินพิมานในปัจจุบันมีเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลพบว่า เห็ดกระถินพิมานมีสารพฤกษเคมี หรือสารสำคัญหลากหลายชนิด กล่าวคือ สารกลุ่ม polysaccharide มีสารสำคัญ เช่น […]

“ข้าวเย็นเหนือ” สมุนไพรที่ไม่ใช่แค่ยาแก้น้ำเหลืองเสีย

ข้าวเย็นเหนือ เป็นสมุนไพรในวงศ์ Smilacaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Smilax corbularia ส่วนภาษาท้องถิ่นที่ใช้เรียก ข้าวเย็นเหนือ จะมีความแตกต่างกันไป เช่น ข้าวเย็นโคกแดง, ค้อนกระแต, หัวข้าวเย็นเหนือ, หัวข้าวเย็นวอก, ยาหัวข้อ (อุบลราชธานี), หัวยาข้าวเย็น, ข้าวเย็นวอก (ภาคเหนือ), หัวยาจีนปักษ์เหนือ (ภาคใต้), เสี้ยมโค่ฮก, เสี้ยมโถ่ฮก (จีนแต้จิ๋ว), ถู่ฝุหลิง และ หงถู่หลิง (จีนกลาง) ข้าวเย็นเหนือ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในประเทศไทย มักจะพบมากทางภาคเหนือ และบางพื้นที่ในภาคอีสานบริเวณป่าโปร่ง ป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง โดยลักษณะของ ข้าวเย็นเหนือ จะจัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลงหัว เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น หรือตามพื้นดิน อาจยาวได้ถึง 5 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เถามีหนาม เหง้า มีเนื้อแข็ง สีแดงเข้ม เนื้อละเอียด เหง้าข้าวเย็นเหนือ ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องยาสมุนไพรของไทยมาตั้งแต่โบราณ รวมถึงตำรายาพื้นบ้านภาคต่างๆ ทั้งการใช้เป็นยาเดี่ยว […]

“ข้าวเย็นใต้” สมุนไพรยอดนิยมที่เข้าตำรับยารักษาโรคเกี่ยวกับน้ำเหลือง

ข้าวเย็นใต้ เป็นสมุนไพรพื้นบ้านในหลายประเทศมานานหลายปี ปัจจุบันพบสายพันธุ์มากกว่า 300 ชนิด และส่วนใหญ่กระจายพันธุ์ในพื้นที่เขตร้อนเป็นหลัก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น หัวยาจีนปักษ์ใต้ (ใต้) ยาหัวข้อ (เหนือ) เตียวโถ่ฮก (จีน) ข้าวเย็นโคกขาว ข้าวเย็นใต้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Smilax glabra และอยู่ในวงศ์ SMILACACEAE ข้าวเย็นใต้เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลักษณะใบเรียวปลายกลม ใบเป็นขนกำมะหยี่ ลงหัวใต้ดินมีอายุหลายปี ดอกเป็นกระจุก ออกดอกตรงกลางลำต้น ลูกเป็นกระจุกแยกเมล็ด เมื่อแก่จัดมีสีดำ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือการแยกหน่อ แพทย์แผนโบราณมักนำส่วนของเหง้าของข้าวเย็นใต้มาใช้ในการทำยา มีรสมันกร่อยหวานเล็กน้อย สรรพคุณ แก้ประดง คุดทะราด แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรคเข้าข้อออกดอก ฝีแผลเน่าเปื่อยพุพอง เม็ดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไขข้อพิการ ปวดเมื่อย ช้ำบวมในข้อ รักษาไขกระดูกอักเสบ ตำรับโบราณจากสุโขทัยบันทึกไว้ในแผ่นทองคำ เป็นยาตำรับรักษาเส้นตึง ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว นิยมนำไปใช้ร่วมกับข้าวเย็นเหนือ และสมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อรักษาโรค โดยนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในการรักษาโรคมะเร็ง […]